บทนำ
เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ
ที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อ พ.ศ. 2426 เกิดการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัว
ประเทศอินโดนีเซีย ปลายปี พ.ศ. 2531
เกิดอุทกภัยร้ายแรงที่สุดบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ของประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงทางน้ำของแม่น้ำ ลำคลองหลายแห่ง พ.ศ. 2534
เกิดการระเบิดของภูเขาไฟพินาตูโบ ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535
เกิดแผ่นดินไหวร้ายแรงที่ประเทศตุรกี วันที่ 23
เมษายน 2535
เกิดแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย 29
กันยายน พ.ศ. 2536
เกิดแผ่นดินไหวทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย มีประชาชนเสียชีวิตมากกว่า 9,758 คน
บาดเจ็บมากกว่าสามหมื่นคน แรงสั่นสะเทือนวัดได้ 6.3 ริคเตอร์ ในวันที่ 3 มิถุนายน 2537
เกิดแผ่นดินไหวทางตอนใต้ของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย และเกิดคลื่นใต้น้ำ”ซูนามิ” มีผู้เสียชีวิต 245 คน
บ้านเรือนเสียหาย 318
หลัง แรงสั่นสะเทือนวัดได้ 6.5
ริคเตอร์ ในวันที่ 8
พฤษภาคม 2537
เกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.5
ริคเตอร์ แต่ไม่มีรายงานความเสียหาย
โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร
ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า
โลกเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ โดยมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ
โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ กำเนิดเมื่อราว 4,500
ล้านปีที่แล้ว และทราบกันในขณะนี้ว่า มีสิ่งมีชีวิต(พลโลกมากว่า 5,300 ล้านคน)
โลกมีลักษณะคล้ายทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวเหนือใต้ 12,711 กิโลเมตร
ในแนวตะวันออกตะวันตก 12,755
กิโลเมตร หมุนรอบตัวครบรอบกินเวลา 23
ชั่วโมง 56
นาที และหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1
รอบกินเวลา 365.25
วัน
กำเนิดโลก (Origin
of the Earth)
โลกและระบบสุริยะจักรวาล กำเนิดในเวลาใกล้เคียงกันคือประมาณ 4.6
พันล้านปีมาแล้ว ขนาดและตำแหน่งของโลกมีความเหมาะสม
ทำให้สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้น เมื่อประมาณ 3.8
พันล้านปีมาแล้ว โลกแบ่งตามวิวัฒนาการได้เป็น 5 ขั้น ได้แก่
ขั้นเริ่มแรก
ขั้นก่อเหล็ก
ขั้นแยกชั้น
ขั้นเกิดใหม่
ขั้นเย็นตัวลง
ในขั้นแรกเริ่มประมาณ 4.6 พันล้านปีมาแล้ว
เป็นการรวมตัวกันของธาตุและสารประกอบต่างๆ ทำให้เกิดการพอกตัวจนเกิดพลังงาน
ความร้อนเนื่องจากการชนกันของสารในที่สุดโลกจึงเกิดการหดตัวหลังจากมีการพอกตัว
ทำให้อุณหภูมิโลกสูงมากขึ้น การสลายตัวของ
สารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวช่วยเสริมความร้อนต่อมาในขั้นก่อเหล็ก
เหล็กเกิดการละลาย จึงเกิดเป็นแกนโลกได้ ส่วนชั้นอื่น
เช่น
เนื้อโลกมีการจมตัวและลอยตัวของธาตุที่หนักและเบาเกิดเป็นขั้นแยกชั้น
ต่อมาผลของการพาความร้อนในชั้นเนื้อโลก จึงเกิดเป็นเปลือกโลก
ทำให้ได้ขั้นเกิดใหม่ของโลกและในที่สุด
เมื่อโลกเย็นตัวลงจึงเกิดกระบวนการการพื้นผิวในที่สุด
จึงได้เปลือกทวีปและเปลือกมหาสมุทร
ชั้นบรรยากาศที่เกิดขึ้นเป็นผลเนื่องมาจากการระเบิดของภูเขาไฟ
ซึ่งปล่อยน้ำภายในโลกออกมามากมาย ซึ่งมีผลต่อการสร้างบรรยากาศใหม่
ของน้ำ ,แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
แก๊สไนโตรเจน นอกจากนี้ตำแหน่งของโลกที่สัมพันธ์กับของดวงอาทิตย์
ทำให้น้ำกลั่นตัวเป็นมหาสมุทรในที่สุด
เมื่อสภาพเหมาะสมจึงเกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นได้
ขนาดของโลกยังทำให้การระเบิดของภูเขาไฟ ยังคงมีอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้
(ฐิติมา เจริญฐิติรัตน์และคณะ. 2546)

กำเนิดโลกจากกลุ่มก๊าซรวมตัวกัน
โดยทั่วๆไปในจักรวาล จะพบสสารต่างๆ เช่น คาร์บอน ไฮโดรเจน น้ำ
มีเทน แอมโมเนียและธาตุหายาก ในหลายๆแห่ง
แต่องค์ประกอบพื้นฐานของเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตเรียกว่า กรดอะมิโน (amino acid) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของโปรตีนที่ประกอบขึ้นด้วย
สสารต่างๆข้างต้น ดังนั้นการอธิบายถึงการกำเนิดของชีวิต
จึงเริ่มมีการสร้างกรดอะมิโนขึ้นมา
A.I.Oparin นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียเสนอแนะว่า
การก่อตัวของสารประกอบเชิงซ้อนที่พบในสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดขึ้นในบรรยากาศของโลกในสมัยเริ่มแรก
โดยการสังเคราะห์จากไฮโดรเจน มีเทน แอมโมเนีย และน้ำ
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า กรดอะมิโนพบอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะ
และจากการวิเคราะห์ ดินตะกอนจากดวงจันทร์ก็พบกรดอะมิโนด้วยเช่นกัน
เครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างประวัติของโลกและสิ่งมีชีวิตก็คือการเรียนรู้เรื่องของฟอสซิล
หลักฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและชีววิทยา
![]() |
ทฤษฎีการกำเนิดโลกและระบบสุริยะ
กำเนิดระบบสุริยะ
นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากพยายามศึกษาและพัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายเกี่ยวกับการเกิดของระบบสุริยะ
ดังตัวอย่างเช่น
ทฤษฎีของคานท์ และลาพลาส พ.ศ. 2339 กล่าวว่า โลก
ดาวเคราะห์ และดวงอาทิตย์เกิดจากกลุ่มก๊าซร้อนที่กำลังหมุนอยู่แรงเหวี่ยงจากการหมุนทำให้ส่วนข้างนอกหลุดออกในลักษณะเป็นวงแหวน
และวงแหวนแต่ละวงรวมตัวกันแล้วหดตัวกลายเป็นโลก และดาวเคราะห์
กลุ่มก๊าซบริเวณศูนย์กลางหดตัวกลายเป็นดวงอาทิตย์
ทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์ พ.ศ.2444 กล่าวว่า มีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่เคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์
แรงดึงดูดระหว่างดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์
ทำให้มวลบางส่วนของดาวฤกษ์และดวงอาทิตย์หลุดออกมากลายเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ
รวมทั้งโลกและวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ
ทฤษฎีของเฟรด ฮอยล์ และ ฮานส์ อัลเฟน พ.ศ.2493 กล่าวว่า
ดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อนจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละออง
แล้วดวงอาทิตย์จึงดึงดูดให้กลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองที่อยู่รอบๆ
รวมตัวกันและมีความหนาแน่นมากขึ้นกลายเป็นดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์
กำเนิดของระบบสุริยะ
แม้ว่าในปัจจุบัน
จะสามารถส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์ได้หลายดวง รวมทั้งเก็บหินดวงจันทร์มาวิเคราะห์แล้วก็ตาม
แต่เราก็ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงกำเนิด โลก ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์อื่นๆ
ในโลกนี้มีอะไร
รูปร่างของโลก
โลกมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวดิ่งจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้
สั้นกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนเล็กน้อย คือ 44 กิโลเมตร หลักฐานที่แสดงว่า
โลกมีลักษณะเป็นทรงกลม เช่น ยานอาวกาศอพอลโล 17
ถ่ายภาพโลกไว้อย่างชัดเจนว่ามีลักษณะเป็นทรงกลม
จากรูปถ่ายลักษณะแบนลงที่ขั้วเห็นได้ชัดเจน
เนื่องจากน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าของความยาวเส้นผ่านศูนย์กลาง
โครงสร้างภายในของโลก
โลกของเรา มีสัณฐานเกือบเป็นทรงกลม
มีเส้นผ่านศูนย์กลางแนวนอนหรือเส้นศูนย์สูตรยาว 12,755 กิโลเมตร
มีเส้นผ่านศูนย์กลางแนวตั้งยาว 12,711
กิโลเมตร

โครงสร้างภายในของโลก
ที่มา: เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และคณะ.2551:19-20
จากการศึกษาคลื่นแผ่นดินไหวทำให้นักวิทยาศาสตร์แบ่งโลกออกเป็นชั้นต่างๆจากผิวโลกถึงชั้นในสุดได้ 3 ชั้นใหญ่ๆ ดังนี้
1. ชั้นเปลือกโลก(Crust) เป็นชั้นนอกสุดมีความหนาระหว่าง
5-40
กิโลเมตรจากผิวโลก มีสภาพเป็นของแข็งทั้งหมด สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.1
เปลือกโลกภาคพื้นทวีป หรือเปลือกโลกชั้นบน(continental
crust)เป็นส่วนของหิน ดินทราย ที่ปกคลุมโลก เป็นหินไซอัล (sial layer) ที่ประกอบด้วยธาตุ
Si และ
Al (หนา
5
กิโลเมตร)
1.2
เปลือกโลกใต้มหาสมุทร หรือเปลือกโลกชั้นใน (oceanic
crust) เป็นหินไซมา (sima
layer) เป็นชั้นหินที่ประกอบด้วยธุาตุ Si และ Mg (หนา 20-70 กิโลเมตร)

ที่มา:
http://www.damrong.ac.th/krukay/lesson1_data1_4.html
ธาตุที่เป็นเปลือกโลก มีมากกว่า 100 ชนิด
ในปริมาณมากน้อยแตกต่างกันที่มีอยู่มาก 8
ชนิด แสดงไว้ในตาราง 1
ตารางที่1
แสดงธาตุที่มีมากในเปลือกโลก
ธาตุ
|
สัญลักษณ์
|
ปริมาณโดยน้ำหนัก
|
ออกซิเจน
ซิลิคอน
อะลูมิเนียม
เหล็ก
แคลเซียม
โซเดียม
โปแตสเซียม
แมกนีเซียม
|
O
Si
Al
Fe
Ca
Na
K
Mg
|
46.6
27.7
8.1
5.0
3.6
2.8
2.6
2.1
|
2. ชั้นกลางโลกหรือเนื้อโลก (Mantle) เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลก
มีความหนาประมาณ 2,885 กิโลเมตร มีส่วนประกอบของแมกนีเซียม เหล็ก
และซิลิกอนเป็นส่วนใหญ่โดยมีธาตุโลหะมากกว่าชั้นเปลือกโลก
ชั้นกลางโลกเกือบทั้งหมดเป็นของแข็ง ยกเว้นที่ความลึกประมาณ70-260
กิโลเมตรมีการหลอมละลายของหินเป็นบางส่วน เรียกว่า ชั้นฐานธรณีภาค(Asthenosphere) โดยสามารถสรุปดังนี้
100 km แรก
ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลกรวมกัน เรียกว่า “ ธรณีภาค (Lithosphere) ” ชั้นเนื้อโลกถัดไปที่ความลึก
100-300 km เรียกว่า
“ ฐานธรณีภาค
(Asthenosphere) ” มีแมกมาไหลวนอยู่ 300-2,870
km ชั้นหินร้อนแดงซึ่งอยู่ตอนนอก
และชั้นหินร้อนขาวซึ่งอยู่ตอนใน T=2,250
- 4,500 องศาเซลเซียล

ที่มา: http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Oceanic_spreading.svg
3. ชั้นแก่นโลก(Core) เป็นส่วนชั้นในสุดของโลกที่มีความหนาแน่นมาก
มีรัศมียาวประมาณ 3,486 กิโลเมตร
ประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างเหล็กและนิกเกิล แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีลักษณะคล้ายของหนืด
ยืดหยุ่นแบบพลาสติก
แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นของแข็ง
มีความหนาแน่นสูง ทรงกลมขนาดรัศมี 1,216 กิโลเมตร
เชื่อว่าประกอบด้วยเหล็กและนิเกิลเป็นหลัก มีความหนาแน่นมากกว่าหินทั่วไปถึง 5
เท่า (ความถ่วงจำเพาะมากกว่า 17) และมีความร้อนสูง
ถึง
4,000 องศาเซลเซียส


ที่มา:
http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Oceanic_spreading.svg
สถานะของสสารในโลก
สสาร มี 3
สถานะ คือ ก๊าซ ของเหลว และของแข็ง
1. ก๊าซ
คือ สถานะของสสารซึ่งมีอนุภาคอยู่ห่างกันจนไม่มีแรงยึดเหนี่ยวต่อกัน
เมื่อก๊าซอยู่ในภาชนะใดอนุภาคจะเคลื่อนที่ไปทั่วภาชนะได้อย่างอิสระ ก๊าซจึงมีปริมาตรไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาตรของภาชนะที่บรรจุก๊าซ
2. ของเหลว
คือ
สถานะของสสารซึ่งมีอนุภาคอยู่ใกล้มากกว่าในสถานะก๊าซแต่ยังมีช่องว่างระหว่างอนุภาค
จึงเคลื่อนที่ไปมาได้ในระยะใกล้ๆ มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
ปริมาตรของของเหลวจึงคงที่ เพราะไม่อาจเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
3. ของแข็ง
คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคชิดกันมากกว่าในสถานะของเหลว
จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคสูงกว่าในสถานะของเหลว
ทำให้ของแข็งมีรูปร่างที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุ
อนุภาคของของแข็งไม่เคลื่อนที่แต่จะสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา

รูป
อนุภาคของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
การเปลี่ยนสถานะของสสาร
สสารเปลี่ยนสถานะได้เมื่อได้รับความร้อน
หรือคายความร้อนจนกระทั่งอยู่ในภาวะที่เหมาะสม
1. การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว
เกิดขึ้นเมื่ออนุภาคของของแข็งได้รับความร้อนอนุภาคจะมีพลังงานจลน์สูงขึ้นจึงสั่นสะเทือนได้แรงขึ้น
และถ่ายเทพลังงานจลน์ให้แก่กันจนถึงภาวะหนึ่ง อนุภาค
อนุภาคมีพลังงานสูงพอที่จะเคลื่อนที่ออกห่างจากกัน
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจึงต่ำลง ของแข็งจึงเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
2. การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซ
เกิดขึ้นเมื่ออนุภาคของของเหลวได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นอนุภาคมีพลังงานจลน์มากขึ้น
จึงเคลื่อนที่ห่างจากกันได้มากขึ้นอีก
จนในที่สุดเคลื่อนที่ห่างจากกันมากจนไม่มีแรงยึดเหนี่ยวต่อกัน
อนุภาคบางอนุภาคของของเหลว จึงฟุ้งกระจายออกไปได้ สภาวะนั้นของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ
ประโยชน์ของการเปลี่ยนสถานะของสสาร มีดังนี้
1. หล่อวัตถุ
เช่น หล่อชิ้นส่วนของเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ
2. ทำไอน้ำ
เช่น ใช้พลังงานจากไอน้ำไปหมุนเครื่องจักร
3. ทำน้ำแข็ง
เช่น ใช้น้ำแข็งในการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน
โครงสร้างของสาร อะตอม และโมเลกุล
อะตอม (atom)
คือนุภาคที่เล็กที่สุดของสสาร อะตอมไม่อยู่ตามลำพัง
แต่จะรวมอยู่กับอะตอมอื่นอย่างเป็นระบบ
ส่วนประกอบของอะตอม คือ อิเล็กตรอน (e) โปรตอน (p) และนิวตรอน (n) โปรตอนและนิวตรอนอยู่ตรงกลาง
คือนิวเคลียส อิเล็กตรอนเคลื่อนที่วนอยู่รอบนิวเคลียส
![]() |
รูป
โครงสร้างอะตอม
โมเลกุล คือ อนุภาคที่เกิดจากการรวมของอะตอมตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไปอย่างมีระบบ
เพื่อมีเสถียรภาพดีกว่าอยู่ตามลำพังอะตอมเดียว
ธาตุ คือ สสารที่โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน เช่น
โมเลกุลของก๊าซออกซิเจน (O2) ประกอบด้วยอะตอมของธาตุออกซิเจน
2
อะตอม

รูป
โมเลกุลของธาตุออกซิเจน

รูป
โมเลกุลของสารประกอบคาร์บอนไดออกไซด์
สารประกอบ คือ สสารที่โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมต่างชนิดกัน
เช่น โมเลกุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ประกอบด้วยอะตอมของธาตุคาร์บอน 1 อะตอม และอะตอมของธาตุออกซิเจน 2 อะตอม
สัญลักษณ์ของธาตุ หมายถึง
เครื่องหมายซึ่งใช้แทนชื่อธาตุเพื่อให้เข้าใจตรงกันเป็นสากล
สัญลักษณ์ของธาตุที่เป็นรูปภาพ ซึ่งจอห์น ดอลตัล
เป็นคนแรกที่เสนอให้ใช้รูปภาพแทนชื่อธาตุ ดังตัวอย่าง
|
||||
![]() |
||||
สัญลักษณ์ของธาตุที่เป็นตัวอักษร ซึ่ง โจนส์ จาคอบ
เบอร์ซีเลียส เป็นผู้เสนอให้ใช้ตัวอักษรแทนชื่อธาตุและเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน
โดยมีหลักการเขียนดังนี้
1. ถ้าธาตุนั้นมีชื่อภาษาละติน
ให้นำตัวอักษรตัวแรกมาเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของธาตุนั้น
ถ้าอักษรตัวแรกซ้ำกับธาตุอื่นให้เพิ่มตัวอักษรตัวถัดไปตัวใดตัวหนึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็ก
เช่น ธาตุโพแทสเซียม ชื่อภาษาละติน Kalium
สัญลักษณ์ของธาตุ คือ K ธาตุเงิน
ชื่อภาษาละติน Argentum สัญลักษณ์ของธาตุ
คือ Ag
2. ถ้าธาตุนั้นไม่มีชื่อเป็นภาษาละติน
ให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ โดยมีหลักการเขียนสัญลักษณ์ เหมือนเดิม เช่น ธาตุคาร์บอน
ชื่อภาษาอังกฤษ Carbon สัญลักษณ์ของธาตุ
คือ C
ตาราง แสดงชื่อธาตุชนิดต่างๆ เป็นภาษาไทย อังกฤษ ละติน
และสัญลักษณ์ของธาตุชนิดนั้นๆ
ชื่อธาตุ
|
สัญลักษณ์
|
ชื่อธาตุ
|
สัญลักษณ์
|
||||
ภาษาไทย
|
ภาษาอังกฤษ
|
ภาษาละติน
|
ของธาตุ
|
ภาษาไทย
|
ภาษาอังกฤษ
|
ภาษาละติน
|
ของธาตุ
|
เหล็ก
ตะกั่ว
ทองแดง
เงิน
ดีบุก
ปรอท
อะลูมิเนียม
ทอง
สังกะสี
|
Iron
Lead
Copper
Silver
Tin
Mercury
Aluminium
Gold
Zinc
|
Ferrum
Plumbum
Cuprum
Argentum
Stannum
Hydrogyrum
-
Aurum
-
|
Fe
Pb
Cu
Ag
Sn
Hg
Al
Au
Zn
|
คาร์บอน
ไนโตรเจน
ออกซิเจน
ไฮโดรเจน
คลอรีน
กำมะถัน
ฟอสฟอรัส
โพแทสเซียม
แคลเซียม
|
Carbon
Nitrogen
Oxygen
Hydrogen
Chlorine
Sulphur
Phosphorus
Photassium
Calcium
|
-
-
-
-
-
-
-
Kalium
-
|
C
N
O
H
Cl
S
P
K
Ca
|
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
เปลือกโลกมิใช่เป็นพื้นเดียวต่อกันแต่ประกอบด้วยแผ่นทวีปและแผ่นมหาสมุทร(Plate)หลายแผ่นที่เคลื่อนที่ไปบนชั้นฐานธรณีภาค
บริเวณขอบหรือรอยต่อของแต่ละแผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาเนื่องจากปัจจัย
3 ประการ คือ
1. โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์และหมุนรอบตัวเอง
2. การไหลเวียนของกระแสความร้อนในหินหนืด
3. ความหนาแน่นที่แตกต่างกันของเปลือกโลก
แผ่นเปลือกโลกสำคัญมี
จำนวน 13 แผ่น
โดยแต่ละแผ่นจะมีขอบเขตเฉพาะได้แก่
1. แผ่นอเมริกาเหนือ
2. แผ่นอเมริกาใต้
3. แผ่นยูเรเซีย
4. แผ่นแอฟริกา
5. แผ่นอินเดีย
6. แผ่น แปซิฟิก
7. แอนตาร์กติก
8. แผ่นฟิลิปปินส์
9. แผ่นอาหรับ
10. แผ่นสกอเทีย
11. แผ่นโกโก้
12. แผ่นแคริเบียน
13. แผ่นนาซก้า
แผนที่แสดงขอบเขตแผ่นเปลือกโลกและทิศทางการเคลื่อนที่

ที่มา:
เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และคณะ. 2551 : 21
สัณฐานของโลก
โลกมีรูปทรงสัณฐานเกือบกลม
โดยเส้นผ่านศูนย์กลางของทรงกลมจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาวประมาณ 12,714 กิโลเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นศูนย์สูตรยาวประมาณ 12,757
กิโลเมตร จุดสูงสุดของโลกอยู่บริเวณเทือกเขาหิมาลัยที่ยอดเขาเอเวอเรสต์
จุดลึกสุดของพื้นมหาสมุทรอยู่ที่ร่องลึกมาเรียนา

ที่มา
:www.stfx.ac.th/stfxnew53/so001.ppt
ตำแหน่งที่ลึกที่สุดในมหาสมุทร
คือ ตำแหน่งลึกชาเลนเจอร์ (Challenger
Deep) ในร่องลึกมาเรียน่า (Mariana Trench) โดยตำแหน่งนี้อยู่ลึกต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
10,924 เมตร (35,840
ฟุต)ถ้าเอาเทือกเอเวอเรสต์ (Mount Everest) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลกไปวางไว้ในบริเวณนั้นก็จะถูกน้ำท่วมสูงหลายกิโลเมตรเลยทีเดียว
คำว่าตำแหน่งลึกชาเลนเจอร์นั้นได้มาจากชื่อเรือสำรวจชาเลนเจอร์ 2 ของสหราชอาณาจักร (British survey ship Challenger II) ซึ่งสำรวจพบจุดลึกนี้ในปี 1951
แนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก
โลกเป็นดาวเคราะห์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง
มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งส่วนที่เป็นบรรยากาศห่อหุ้มโลกและส่วนที่ประกอบอยู่ภายในของโลก
อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ และรอบตัวเอง
รวมไปถึงการที่โลกยังร้อนอยู่ภายในมีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่อธิบายถึงการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
ดังนี้
ทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental
Drift Theory)
ปี ค.ศ. 1915
Alfred Wegener นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอสมมุติฐาน
ทวีปเลื่อน (continental drift) โดยกล่าวว่า ทวีปต่างๆ
ที่เห็นอยู่บนโลกเราปัจจุบันนี้ ในอดีตได้เคยอยู่รวมกันเป็นทวีปเดียว เรียกว่า
พันเจีย (Pangaea Supercontinent) และได้เกิดการแยกตัวและเคลื่อนที่ออกจากกันมาเมื่อกว่า
250 ล้านปีที่แล้ว โดยมีเหตุผลสนับสนุนคือ
รูปร่างของทวีปต่างๆที่สามารถต่อติดกันได้พอดี
พบซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกันในหินที่เกิดในสภาวะแวดล้อมเดียวกันแต่อยู่คนละทวีปที่ห่างไกลกันมาก
หินอายุเดียวกันที่อยู่ต่างทวีปกันมีรูปแบบสนามแม่เหล็กโบราณคล้ายคลึงกันและขอบของทวีปสามารถเชื่อมตัวประสานแนบสนิทเข้าด้วยกันได้

อัลเฟรด
เวเจเนอร์ (Alfred Wegener) นักธรณีฟิสิกส์และนักอุตุนิยมวิทยา
ชาวเยอรมัน
ที่มา:
พรศิริ ดีเลิศ.2550

ที่มา:
พรศิริ ดีเลิศ.2550
จากภาพ ซ้ายคือแผ่นพันเจีย
ภาพขวามือธิบายเกี่ยวกับลอเรเชีย ประกอบด้วย
ทวีปอเมริกาเหนือ เกาะกรีนแลนด์
ทวีปยูเรเชีย (ยกเว้นอินเดีย)และกอนด์วานา ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาใต้
แอฟริกา แอนตาร์กติกา อินเดีย ออสเตรเลีย และเกาะมาดากัสการ์
![]() |
ที่มา:
เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และคณะ. 2551 : 22

หลักฐานจากฟอสซิล
ทฤษฎีวงจรการพาความร้อน (Convection
Current Theory)
ปี ค.ศ.1928 นักธรณีวิทยาชาวสก๊อต Arthur Holmes ได้อธิบายว่า
ทวีปสามารถเคลื่อนตัวได้ เนื่องจากการนำพาคลื่นความร้อนภายในโลก (heat convection
current) โดยคลื่นความร้อนจะเคลื่อนตัวขึ้นมาจากใจกลางของโลก
แล้วเคลื่อนตัวในแนวระนาบและมุดตัวกลับลงไป
การเคลื่อนตัวของกระแสคลื่นความร้อนนี้จะชักเหนี่ยวนำให้ทวีปมีการเคลื่อนตัวได้
ทฤษฎีนี้สามารถอธิบายถึงการเกิดทวีปเลื่อนได้

ที่มา:
เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และคณะ. 2551
: 23
ทฤษฎีเปลือกโลกใต้มหาสมุทรแยกตัว (Sea
Floor Spreading Theory)
จากปรากฏการณ์การแตกตัวและแยกออกจากกันของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปและใต้มหาสมุทรสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว
การเกิดหมู่เกาะภูเขาไฟ การเกิดแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร การขยายตัว
และการเกิดใหม่ของมหาสมุทร ทำให้เกิดสมมติฐานและกลายเป็นทฤษฎีนี้ขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง
ๆ เหล่านั้นและการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกต่าง ๆ
ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก(plate
Tectonic Theory)
ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
โดยปกติ มนุษย์ไม่สามารถรู้สึกถึงการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
เช่นเดียวกับที่เราไม่รู้สึกถึงการหมุนรอบตัวเองของโลก
แต่หากการเคลื่อนที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและฉับพลัน จะก่อให้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
มนุษย์จึงรับรู้ถึงการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกได้
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกมีอัตราเฉลี่ยประมาณ 2-15
เซนติเมตร/ปี สามารถแบ่งประเภทของการเคลื่อนที่ได้เป็น 3 ประเภท ดังหน้าถัดไปนี้
1. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกัน (Divergent
Plate Boundary)เป็นการดันขึ้นมาของแมกมาจากชั้นฐานธรณีภาค
เย็นตัวและแข็งกลายเป็นหินที่ยึดติดเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกที่กำลังเคลื่อนที่
ที่ขอบของแผ่นเปลือกทวีปนี้ได้แก่ เทือกสันเขากลางมหาสมุทร (Mid-Oceanic
Ridge) ที่ปรากฏอยู่บนเปลือกโลก พื้นมหาสมุทร เช่น เทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก (Mid-Atlantic
Ridge) และบริเวณที่เป็นแนวร่องหุบเขา (Rift Valley) ที่แสดงถึงขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกชนิดนี้ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นใหม่ใต้เปลือกโลกพื้นทวีปหินเก่าจะถูกดันออกไปขณะที่เกิดหินใหม่จาการแทรกตัวของแมกมาตามรอยแยกเย็นตัวลงการไหลของความร้อนทำให้ชั้นธรณีแตกออก
เกิดเป็นแนวแยกหุบเขา

ที่มา:
เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และคณะ. 2551
: 24

ที่มา:
http://www.siamvolunteer.com/disaster_knowledge/1disas_volcano.ppt
2. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent
Plate Boundary)
มีลักษณะที่แผ่นเปลือกโลกหนึ่งจมตัวลงไปใต้อีกแผ่นเปลือกโลกหนึ่งตามแนวบริเวณที่เรียกว่า “เขตมุดตัว”
(Subduction Zone) เมื่อแผ่นเปลือกโลกจมตัวลงสู่ใต้ผิวโลกมันจะร้อนขึ้นจนหลอมกลายเป็นแมกมา
ซึ่งจะแทรกดันตัวขึ้นสู่ผิวโลกและอาจ “พุ” หรือ “ปะทุ" กลายเป็นแนวภูเขาไฟ ตัวอย่าง เช่น
แนวเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น

แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน
ที่มา:
เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และคณะ. 2551
: 25
แนวที่แผ่นธรณีมุดชนกัน/ซ้อนกันได้ 3 แบบ
1. แผ่นมหาสมุทร ชน
แผ่นทวีป
2. แผ่นมหาสมุทร ชน
แผ่นมหาสมุทร
3. แผ่นทวีป ชน
แผ่นทวีป

ที่มา:
http://www.siamvolunteer.com/disaster_knowledge/1disas_volcano.ppt
แผ่นมหาสมุทร ชน แผ่นทวีป
แผ่นมหาสมุทรที่หนาแน่นกว่าจะมุดใต้แผ่นทวีป
ทำให้เกิดเทือกเขาบนแผ่นธรณีทวีป เช่น ฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้
เกิดร่องลึกใต้สมุทร ขนานกับขอบธรณีทวีป ทำให้มีภูเขาไฟปะทุ และแผ่นดินไหว

ที่มา: http://www.siamvolunteer.com/disaster_knowledge/1disas_volcano.ppt

ที่มา:
202.129.0.134/courses/533/51scM5-SOsU5S201.ppt

ที่มา:
เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และคณะ. 2551
: 25
แผ่นมหาสมุทร
ชน แผ่นมหาสมุทร
- แผ่นที่มีอายุมาก หนาแน่นมาก และ อุณหภูมิต่ำกว่า
จะมุดลงที่ชั้นเนื้อโลก ทำให้เกิดร่องลึกใต้สมุทร
- แผ่นบนเกิดการหลอมเหลวเป็นแมกมา
เกิดเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (vocanic island arc) ขนานกับแนวร่องลึกใต้สมุทรและเกิดแผ่นดินไหว
ขนาดลึก และภูเขาไฟที่มีพลัง
- แผ่นทวีปเป็นหินแกรนิต มีความหนาแน่นน้อยกว่าแผ่นมหาสมุทร
ซึ่งเป็นหินบะซอลต์แผ่นมหาสมุทรที่หนาแน่นกว่าจะมุดลงใต้แผ่นทวีปเกิดเป็นร่องเหวมหาสมุทร
trench อุณหภูมิและความดันที่สูงในชั้นฐานธรณีทำให้แผ่นที่มุดลงมาหลอมละลาย

ที่มา:
พรศิริ ดีเลิศ.2550
แผ่นทวีป
ชน แผ่นทวีป
-
แผ่นธรณีทั้งสองมีความหนามาก เมื่อชนกันจึงมีการเกยกัย
-
เกิดเป็นเทือกเขาสูงแนวยาวอยู่ในแผนธรณีทวีป เช่น เทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย
เทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป

เทือกเขาหิมาลัย
ที่มา:
202.129.0.134/courses/533/51scM5-SOsU5S201.ppt

ที่มา: http://www.damrong.ac.th/krukay/lesson2_data1_5.html
3.
แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ไถลตัวขนานกัน (Transform Plate
Boundary)
บริเวณการเคลื่อนตัวลักษณะนี้
ที่รู้จักกันดี ได้แก่ รอยเลื่อนซานแอนเดรียสในแคลิฟอร์เนียซึ่งแบ่งแผ่นแปซิฟิกกับแผ่นอเมริกาเหนือ
จึงมักเกิดแผ่นดินไหวจากการเคลื่อนที่ขนานกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองเสมอ
ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ถือเป็นทฤษฎีแม่บทสำหรับการศึกษาด้านธรณีวิทยา
ในการเชื่อมโยงปรากฏการณ์ต่างๆ ด้านธรณีวิทยาที่ดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกันเข้าหากัน
นอกจากทำให้ทราบถึงลักษณะต่างๆ ที่ปรากฏบนเปลือกโลกแล้ว
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกยังสามารถอธิบายการเกิดและการกระจายตัวของทรัพยากรธรรมชาติ
ตลอดจนการแพร่กระจายและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย

ที่มา:
เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และคณะ. 2551
: 25

ที่มา:
พรศิริ ดีเลิศ.2550

รอยเลื่อนซานแอนเดรียสในแคลิฟอร์เนีย
ที่มา:
http://www.damrong.ac.th/krukay/lesson2_data1_5.html
การเคลื่อนที่ของประเทศไทย
การศึกษาธรณีวิทยาของประเทศไทยโดยอาศัยทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานทำให้ทราบว่าในช่วงเวลา
465 ล้านปีที่ผ่านมา
ผืนแผ่นดินไทยในอดีตเคยอยู่บริเวณซีกโลกใต้ที่เรียกว่าแผ่นดินกอนด์วานา(Gondwanaland)
โดยแยกเป็น 2 ส่วนเรียกว่า จุลทวีปฉานไทย
(ส่วนของภาคเหนือลงไปถึงภาคตะวันออกและภาคใต้) และจุลทวีปอินโดจีน
(ส่วนของภาคอีสาน)ซึ่งอยู่ติดกับทิศตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย
จุลทวีปทั้งสองขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินกอนด์วานาต่อมาได้เคลื่อนตัวแยกออก
และหมุนตัวตามเข็มนาฬิกาขึ้นไปทางเหนือ จนเมื่อประมาณ 220
ล้านปีก่อน จุลทวีปทั้งสองจึงเคลื่อนตัวมาชนกัน ดังจะเห็นหลักฐานได้ว่า
รอยชนกันของ สองจุลทวีป มีหินภูเขาไฟ เป็นแนวยาวตั้งแต่ จังหวัดเชียงราย
ผ่านลงมายังจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร เพชรบูรณ์ ลพบุรี
ปราจีนบุรี และจันทบุรี ซึ่งแนวรอยต่อของจุลทวีปนี้
เป็นที่สะสมของแหล่งแร่ที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแร่ทองคำ

ที่มา:http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/main.php?filename=index_geo
การเคลื่อนที่ของประเทศไทย

ที่มา
: http://www.dmr.go.th/
การแปรสัณฐานของเปลือกโลก
การเปลี่ยนแปลงของลักษณะเปลือกโลก
แบ่งได้ดังนี้
1. ชั้นหินคดโค้ง(fold) เกิดจากความเค้น(stress)
และความเครียด (strain)ของเปลือกโลกจากแรงที่มากระทำกับชั้นเดิม
ซึ่งอาจวางตัวอยู่ในแนวราบ แต่เมื่อมีแรงบีบอัดทำให้เกิดการโค้งงอของชั้นหิน
เกิดกับหินที่มีสมบัติเป็นพลาสติก (เปลี่ยนรูปแล้วไม่คืนตัวกลับสู่สภาพเดิม)
แบ่งรูปแบบการโค้งงอได้ 2 ประเภท
1. หินคดโค้งรูปประทุน (anticline)
2. หินคดโค้งรูปประทุนหงาย (syncline)
ลักษณะที่สังเกตเห็นมักเกิดรูปประทุน
และ รูปประทุนหงาย สลับกันระนาบสมมติที่แบ่งผ่านส่วนที่โค้งที่สุดของชั้นหิน
เรียกว่า “ระนาบแกนชั้นหินคดโค้ง (axial
plane)”

ที่มา: http://www.damrong.ac.th/krukay/lesson2_data1_5.html

ที่มา: http://www.damrong.ac.th/krukay/lesson2_data1_4.html
2. รอยเลื่อน (fault)
รอยเลื่อน คือ ระนาบแตกตัดผ่านหินซึ่งมีการเคลื่อนที่ผ่านกัน
และหินจะเคลื่อนที่ตามระนาบรอยแตกนั้นแบ่งรอยเลื่อนได้ 3 ประเภท
1. รอยเลื่อนปกติ (normal
fault) เป็นการเคลื่อนตัวตามแนวยืนหรือเลื่อนตัวลงมาตามความลาดชันของระนาบรอยเลื่อน
2. รอยเลื่อนย้อน (reverse
fault)เป็นการเลื่อนตัวย้อนแนวระนาบรอยเลื่อนขึ้นไปทำให้ชั้นหินด้านหนึ่งเคลื่อนย้อนไปบนชั้นหินอีกด้านหนึ่ง
3. รอยเลื่อนเหลื่อมข้าง
เป็นการเลื่อนตัวตามแนวราบทำให้ชั้นหินหรือพื้นที่ที่เคยเป็นบริเวณเดียวกันเลื่อนเหลื่อมจากกันและรอยเหลื่อมซ้อนเกิดจากการที่ชั้นหินเลื่อนไถลทับซ้อนกัน

ที่มา : www.stfx.ac.th/stfxnew53/so002.ppt
3. รอยแยก (joint) มักเกิดในหินที่มีความแข็งเปราะเมื่อได้รับความเค้นและความเครียดจะเกิดรอยแตกในเนื้อหินได้ง่ายรอยแตกที่หลุดเลื่อนจากกัน
เป็นแนวยาว เรียกว่า รอยเลื่อน

รอยแยกแบบเสา รอยแยกแบบแผ่น
ที่มา
: www.stfx.ac.th/stfxnew53/so002.ppt
ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา
1. แผ่นดินไหว (earthquake)
- เป็นการไหวสะเทือนของพื้นดิน
อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงาน เพื่อระบายความเครียด (strain)ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันทันที
ซึ่งถือว่าเป็นการปรับความสมดุลของเปลือกโลก
- ถ้าหากมีแรงมากระทำกับแผ่นหินต่อไปเรื่อยๆ
แผ่นหินจะสะสมความเครียดใหม่ จนกว่าจะไม่มีแรงมากระทำอีก
ดังนั้นแผ่นดินไหวจึงเกิดเป็นช่วงๆ
เรียกว่า
“คาบอุบัติซ้ำ (return period)”
- “คาบอุบัติซ้ำ”หมายถึง ระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้น
แล้วกลับมาเกิดซ้ำในที่เดิมอีก อาจเป็นร้อยปีพันปีหรือน้อยกว่านั้น
- ตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดการไหวสะเทือนของแผ่นดิน เรียกว่า “ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว(focus)”
- ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เรียกว่า “จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter)”

ที่มา : http://www.damrong.ac.th/krukay/lesson2_data1_5.html
: พรศิริ ดีเลิศ.2550
เราสามารถแบ่งศูนย์เกิดแผ่นดินไหวตามระดับความลึกได้ 3 ระดับ
1. แผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับตื้น ลึก 0-70 กิโลเมตร
2. แผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับปานกลาง ลึก 70-300 กิโลเมตร
3. แผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับลึกลึก 300-700 กิโลเมตร
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
พลังงานที่ถูกปลดปล่อยจะอยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน 2 ชนิดคือ
1. คลื่นในตัวกลาง แผ่กระจายทุกทิศทางจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว มี 2 ชนิด คือ
- คลื่น p (ปฐมภูมิ) ผ่านตัวกลางได้ทุกชนิด
เป็นคลื่นตามยาว
- คลื่น s (ทุติยภูมิ) ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง
เป็นคลื่นตามขวาง

ที่มา:
พรศิริ ดีเลิศ.2550
2. คลื่นพื้นผิว
เคลื่อนที่บนผิวโลก หรือใต้ผิวโลกเล็กน้อย และเคลื่อนที่ช้ากว่าคลื่นในตัวกลาง มี 2 ชนิด คือ
- คลื่นเลิฟ
(love wave) หรือ คลื่น L เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่นในแนวราบบริเวณใกล้ผิวโลก
ทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่นสร้างความเสียหายกับฐานอาคาร สิ่งปลูกสร้าง
- คลื่นเรย์ลี
(rayleigh wave) หรือ คลื่น R เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ในแนวดิ่งทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น

ที่มา:
พรศิริ ดีเลิศ.2550
แนวเกิดแผ่นดินไหว
แนวการเกิดแผ่นดินไหวแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. แนวรอยต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงและมากที่สุด
คิดเป็นร้อยละ 80 ของการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก
มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่ระดับตื้นปานกลาง และลึก เรียก วงแหวนไฟ (Ring of
Fire)เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาเป็นต้น
2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในยุโรป
และภูเขาหิมาลัยในเอเชีย
เป็นแผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่ระดับตื้นและปานกลาง
คิดเป็นร้อยละ
15 เช่น พม่า อิหร่าน ตุรกี อัฟกานิสถาน
แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรป
3. บริเวณสันกลางมหาสมุทรต่างๆของโลก คิดเป็นร้อยละ 5 เช่น
เทือกเขากลาง มหาแอตแลนติก สันเขาใต้
มหาอินเดียและอาร์กติก แผ่นดินไหวบริเวณนี้เกิดระดับตื้น และแนวแคบๆ

ที่มา
: www.stfx.ac.th/stfxnew53/so002.ppt
ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Magnitude
and Intensity of Earthquake)การวัดความสั่นสะเทือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
มี มาตราวัด 2 แบบได้แก่
1. มาตราริคเตอร์ (Richter) ใช้วัดจากค่าพลังงานที่แผ่นดินปลดปล่อยออกมา
2. มาตราเมอแคลลี่ (Mercalli) ใช้วัดจากความรู้สึกและผลกระทบต่อสิ่งก่อสร้างและภูมิประเทศ
เครื่องมือที่ใช้วัดความสั่นสะเทือนของแผ่นดิน คือ ไซส์โมกราฟ (seismograph)

ที่มา
: http://www.dmr.go.th/

ที่มา
: ปัญญา จารุศิริ.และคณะ. 2550
ผลกระทบจากแผ่นดินไหว

ที่มา
: www.stfx.ac.th/stfxnew53/so002.ppt
มนุษย์ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
มนุษย์ได้อาศัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำมาหากิน
ในบางครั้งการกระทำของมนุษย์ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงดังตัวอย่าง
1. มีการขุดเจาะลงในชั้นดิน
หิน เพื่อวางระบบรากฐานของสิ่งก่อสร้าง
2. มีการก่อ
สร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน ถนน ถนนซึ่งตัดผ่านภูเขา อาคาร และอุโมงค์
3. มีการขุด
หิน และแร่ธาตุเพื่อนำมาประโยชน์
4. การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน
5. ก๊าซซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยออกมา
เมื่อละลายในน้ำฝน ทำให้ฝนมีฤทธิ์เป็นกรด จึงทำให้เปลือกโลกเกิดการกร่อน

กนก จันทร์ขจร.และถนัด ศรีบุญเรือง. (2549). วิทยาศาสตร์กายภาพ.
กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
ทวีศักดิ์ บุญบูชาไชย. (ม.ป.ป). โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ.
กรุงเทพมหานคร: พ.ศ.พัฒนา.
ดรุณี เสมอภาค. (2555). โลกและการเปลี่ยนแปลง.
(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น